Custom Search

Search This Blog

Tuesday, March 31, 2009

ขายสเปรย์ปรับอากาศในรถยนต์ อันตรายมากๆ

ช่วยส่งต่อไปยังบุคคลที่คุณรักด้วยนะคะ ส่งต่อไปมากๆ จะได้ป้องกันตัวเองจากพวกมิจฉาชีพได้ค่ะ

คลอโรฟอร์ม ( Chloroform)
ชื่อเรียกอื่น Formyl trichloride; Freon 20; Trichloromethane.
CAS No. 67-66-3
สูตรโมเลกุล CHCl3
น้ำหนักโมเลกุล 119.38
จุดเดือด 61-62 องศาเซลเซียส
คุณสมบัติ เป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยง่าย มีกลิ่นหอมหวาน

การใช้ที่ผิดกฎหมาย ใช้เป็นตัวทำละลายในการผลิต heroin, cocaine

การใช้ที่ถูกกฎหมาย ใช้ในการผลิต Fluorocarbon-22 เป็นตัวทำละลายน้ำมัน ไขมัน ยาง สารอัลคาลอยด์ ขี้ผึ้ง เรซิน และสารทำความสะอาด ใช้ในเครื่องดับเพลิงเพื่อลดจุดเยือกแข็ง

กฎหมายควบคุม พระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2495

บทลงโทษ ผู้ใดนำ ขนย้าย จำหน่าย มีไว้ในครอบครอง ใช้หรือเปลี่ยนแปลงสภาพ ซึ่งโภคภัณฑ์นี้ โดยไม่ได้รับหนังสืออนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดแห่งท้องที่นั้น มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


แจ้งเหตุร้ายจากสำนักงานสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติช่วยบอกต่อขณะนี้กำลังมีการระบาดของ กลุ่มมิจฉาชีพ แกล้งทำทีมาขาย สเปรย์ปรับอากาศในรถยนต์ แต่จริงๆแล้ว สารในสเปรย์กระป๋อง นั้นคือ คลอโรฟอร์ม ที่ทำให้ท่านสลบได้เหตุการณ์ เริ่มจากเด็กสาววัยรุ่นท่าทางดีมาเคาะกระจกขณะรถจอดหรือรี่เข้ามาขณะท่านกำลังจะเข้ารถบริเวณลานจอดรถ ตามที่สาธารณะทั่วไป...

หากท่านไม่ระวังหรือไขกระจกรถเพื่อพูดคุยด้วยสเปรย์จะถูกฉีดเข้าในรถทันที เมื่อท่านสลบ งัวเงีย สลึมสลือไม่ได้สติ ผู้ชายอีก 2-3 คนจะเข้ามาปลดทรัพย์ หรืออาจทำอันตรายร่างกายของท่านได้เพื่อความปลอดภัยสำหรับทุกท่าน ขอให้ระวังตัวในทุกย่างก้าว และไม่ประมาทด้วยความปราถนาดี และห่วงใยเสมอ สำนักงานสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ช่วยกระจายต่อด้วยนะคะเพื่อความปลอดภัยของตัว ท่านเองและบุคคลที่รัก

Monday, March 30, 2009

หลอกว่าโอนเงินผิด ใส่บัญชีเรา

ศุกร์ที่ 28 ก.พ. 2552 มีคนโทรเข้ามาบอกว่าเป็นพนักงานแบงค์กรุงเทพฯ บอกว่ามีลูกค้าโอนเงิน เข้ามาที่บัญชีเราผิด บอกเลขบัญชีทุกอย่างถูกหมด แล้วก็บอกให้โอนเงินกลับด้วย เพราะว่าลูกค้าคนนั้น เดือดร้อนมาก เราก็บอกว่าขอไปเช็คก่อน
พอวันเสาร์เราไปกดตังค์ก็พบว่ามีเงินเข้ามาบัญชีเราผิดตามจำนวนที่เค้าบอกจริงๆ ก็เลยโอนคืนไปให้...... ก็ไม่คิดว่ามีอะไร เพราะมันก็ไม่ใช่เงินเราจริง....
จนมาวันนี้ได้รับใบ แจ้งหนี้ CITIBANK มี ยอด Call for cash ให้ผ่อนจ่ายรายเดือน ก็เลยโทรไปเช็คที่ call center เค้าบอกว่าเราโทรไปขอเบิกเงินสดเข้าบัญชีเราเอง เมื่อวันที่ 25 มีนา เราก็บอกว่าไม่ได้ทำ...
อย่างนี้ก็โดนหลอกแล้วซิพนักงาน call center ก็ได้แต่บอกให้ไปแจ้งความซึ่งก็ยังดีที่เราเก็บ silpที่เราโอนเงินไว้นะ จะรบกวนผู้รู้ค่ะ ว่าจะทำอย่างไรต่อดี จะไปแจ้งความที่ไหน แล้วตำรวจจะช่วยเราได้ไหม เพราะจำนวนเงินนั้นก็หลายหมื่นเลยค่ะ

วิธีแก้ไข

หากเจอแบบนี้ ไม่ต้องทำรายการโอนครับ ถึงจะมีการโอนเข้ามาผิดจริง ทาง ธนาคารสามารถทำรายการแก้ไขได้เองอยู่แล้ว การทำรายการโอนเงิน เท่า กับเราเป็นผู้สั่งโอน การแก้ไขจะทำได้ลำบากขึ้น
หรือหากเป็นการโอนจาก ATM หรือ CDM ให้ขอหลักฐานเป็นหนังสือออก โดยธนาคารมาให้เราก่อน ( ตัวจริงนะครับ) แล้ว เช็คข้อมูลกับธนาคารต้นทางก่อนจนแน่ใจ
อีก 4-5 วันค่อยโอนก้อ ไม่เสียหาย เพราะไม่ได้มีเจตนาโกง ฟ้องมาก้อชนะแน่นอน
ถ้า เป็น การทำรายการ โอนผิด ธนาคารแค่แจ้งลูกค้าปลายทาง แล้วจัดการเองได้เลยแน่นอน

นี่เป็นวิธีหลอกลวงแบบใหม่ เพื่อนๆ โปรดระวัง แจ้งเตือนกันให้ทั่ว คนส่วนใหญ่ในสังคมเป็นคนดีอยากคืนเงินคนที่ เดือดร้อนแน่อยู่แล้ว ดังนั้นมีโอกาสตกหลุมนี้ได้ไม่ยากเลย เจ้าของบัญชีที่รับโอนกลับคงเป็นคนบ้านนอก ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรนัก ถูกจ้างให้เปิดบัญชีพร้อมบัตร ATM ได้ เงิน 200-300 บาทก็เอาแล้ว คนโกงก็กด ATM เชิดไป แล้วหลายหมื่น

ข้อควรระวังเรื่องนี้

1. ถ้าโอนผิดจริง แบงก์สาขาจะสามารถจัดการได้เองเลย เราไม่ต้องทำอะไรครับ
2. เบอร์โทรเข้ามา ถ้าแปลกๆ แบบไม่แสดงเบอร์ หรือ เป็นแบบโทรจาก internet ให้ระวังไว้ก่อนเลยครับ
3. ใบแจ้งหนี้บัตรเครดิต ควรทำลายอย่าให้เหลือเห็นข้อมูลต่างๆ เช่น วงเงินสินเชื่อ หรือ เลขบัญชีธนาคารที่ตัดอัตโนมัติ

โปรดกระจายข่าวเรื่องนี้ไปยังเพื่อนและญาติๆ โดยด่วน

สนธิ ลิ้มทองกุล พูด "สะใจฉิบหาย"

Wednesday, March 18, 2009

Flight 1549 (19 Jan 2009)

Thursday, March 12, 2009

ATM Skimming ระวังด้วยนะ

เรียนพนักงานทุกท่าน

เนื่องจากปัจจุบันได้มีกลุ่มมิจฉาชีพได้ติดตั้งเครื่องอ่านข้อมูลจากบัตร ATM และที่แป้นกดรหัส หรือที่เรียก กันว่า ATM Skimming ในหลายๆพื้นที่ ซึ่งเมื่อท่านทำรายการที่ตู้ดังกล่าวแล้ว คนร้ายสามารถนำ ข้อมูลบนบัตรพร้อมรหัส ไปผลิตบัตรใหม่แล้วสามารถทำการถอนเงินจากบัญชีจนหมดได้

ดังนั้นก่อนทำรายการใด รบกวนท่านสังเกตุความผิดปกติของตู้ ATM ด้วยว่าแป้นกด มีลักษณะไม่น่าไว้วาง ใจ เช่น เป็นกล่องนูนขึ้นมาอย่างผิดสังเกตุ หรือที่ช่องรับบัตรมีความผิดปกติของอุปกรณ์ เช่น สีเพี้ยน หรือลักษณะเหมือนมีอะไรมาแปะติดเพิ่ม

นอกจากนี้หากท่านพบเห็นตู้ของเรามีลักษณะผิดปกติ ขอความกรุณาแจ้งผู้จัดการสาขา หรือผู้จัดการ บริการลูกค้า ( Counter Bank) หรือ โทร 7087-90 หรือ 081 649 9819 ได้นอกเวลาทำงาน เพื่อจะได้ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องต่อไป

ข้อควรระวัง คือหลีกเลี่ยงการใช้บริการที่ตู้ที่ติดตั้งในจุดที่เปลี่ยว มืด เพราะคนร้ายสามารถติดตั้งอุปกรณ์ ดังกล่าวได้ง่าย

จึงเรียนมาเพื่อทราบ
สภาพเครื่องATM ก่อนโดนดัดแปลง

หลังดัดแปลงติดATM Skimming แล้ว

แป้นกดมันเล่นทำอันใหม่มาทับ สุดยอด !

ช่องเสียบบัตรดูมันทำ ใครจะสังเกต ?

ดูชัดๆ จะๆ ระวังกันด้วยครับ

Thursday, March 5, 2009

ข้อควรรู้เมื่อรถหาย/ถูกทุบในห้างสรรพสินค้าหรือโรงแรม

ดีจ้าทุกคน..........
วันนี้คุยกับพี่ที่ทำงาน เค้าสนิทกับพวกข้าราชการกระทรวงโน้นนั้นนี้มากมาย เค้าเล่าว่าเพิ่งคุยกับรองอธิบดี อะไรซักอย่าง กับ สคบ. เรื่องการฟ้องร้องของผู้บริโภคว่าเป็นยังไงบ้าง....

ถ้าหากเราเกิดรถหาย/ถูกทุบในห้างสรรพสินค้า.....

ต้องเข้าไปซื้อของในห้างและเก็บใบเสร็จไว้เป็นหลักฐานว่าเราเป็นลูกค้ามาใช้บริการของห้างฯ ถ้ารถหายก่อน ก็วิ่งเข้าไปซื้อของซะ แล้วก็เก็บใบเสร็จไว้ซะ แนะนำว่าควรเป็นการซื้อในห้างโดยตรง ไม่ใช่ร้านค้าที่มาเช่าพื้นที่เพื่อความชัดเจน/แน่นอนของหลักฐาน

ถ้าหากเราเกิดรถหาย/ถูกทุบในโรงแรม....

เราต้องเช็คอินเข้าพักในโรงแรม ถึงจะถือได้ว่าเป็นลูกค้าของโรงแรมอย่างชัดเจน....

แล้วก็เก็บหลักฐานใบเสร็จรับเงินการเข้าพักโรงแรมเอาไว้ แล้วก็ฟ้องร้องผ่านสคบ. ไม่ว่าห้าง/โรงแรม จะให้บัตรจอดรถหรือไม่ หรือเขียนไว้ว่าไม่รับผิดชอบ

ทุกคดีที่มีหลักฐานชัดเจนอย่างข้างบนชนะหมดเลย
เก็บเอาไว้เป็นเรื่องควรรู้ละกัน

Wednesday, March 4, 2009

หน้าตาใบสั่ง โดยกล้องไฮเทค


เริ่มแล้ว! กล้องไฮเทค จับผิด 30 แยกทั่วกรุง ฝ่าไฟแดง-ปรับถึงบ้าน

โครงการกล้องไฮเทคถูกทดลองใช้ครั้งแรก วันที่ 30 ธันวาคม ภายใต้การดูแลของพล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รอง ผบช.น. (ดูแลจราจร) ผู้เป็นต้นคิดโครงการนี้ การทำงานของเครื่องตรวจจับจะมี 2 ส่วนด้วยกัน คือ ระบบจับภาพผู้กระทำผิดซึ่งเป็นการทำงานของกล้องดิจิตอล และระบบศูนย์ควบคุมที่ทำหน้าที่นำภาพที่จับได้มาประมวลผล การทำงานจะเป็นไปตามขั้นตอน คือ ถ่ายภาพการกระทำผิดในรูปแบบแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมบันทึกรายละเอียดไว้ชัดเจน หลังจากนั้นระบบจะส่งภาพผ่านระบบสื่อสารโครงข่ายแบบ ADSL ไปยังศูนย์ควบคุมกลาง ทำการเปรียบเทียบข้อมูลยานพาหนะที่กระทำผิด พร้อมตรวจสอบความชัดเจนของภาพอีกครั้ง ก่อนพิจารณาพิมพ์ใบสั่งจัดส่งไปทางไปรษณีย์เพื่อเรียกชำระค่าปรับ

ในชั้นนี้มีการติดตั้งกล้องดิจิตอลทั่วกทม.แล้ว 30 จุด คือ

1.แยกรัชดาฯ-ลาดพร้าว
2.แยกบ้านม้า
3.แยกคลองตัน
4.แยกอโศกเพชร
5.แยกวิทยุ-เพลินจิต
6.แยกซังฮี้
7.แยกพญาไท
8.แยกโชคชัย 4
9.แยกนิด้า
10.แยกอุรุพงษ์
11.แยกประดิพัทธ์
12.แยกรัชดาฯ-พระราม 4
13.แยกลำสาลี
14.แยกบ้านแขก
15.แยกบางพลัด
16.แยกนรินทร
17.แยกราชประสงค์
18.แยกอโศกสุขุมวิท
19.แยกสาทร
20.แยกตากสิน
21.แยกโพธิ์แก้ว
22.แยกพัฒนาการ-ตัดรามฯ 24
23.แยกร่มเกล้า
24.แยกศุลกากร
25.แยกเหม่งจ๋าย
26.แยกท่าพระ
27.แยกประเวศ
28.แยกอังรีดูนังต์
29.แยกประชานุกูล
30. แยกบางโพ
โดยกล้องดังกล่าวแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วน คือ
1.ตัวกล้อง
2.ตัวเซ็นเซอร์
3.ตัวคอมพิวเตอร์ประเมินผล

เมื่อไฟแดงทำงาน ตัวเซ็นเซอร์ทำงาน มีการฝ่าไฟแดงออกไปกล้องจะถ่ายภาพจากนั้นจะประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่โคนเสาซึ่งเป็นกล่องเหล็ก ตัวคอมพิวเตอร์ก็จะส่งข้อมูลมาที่ศูนย์สั่งการและควบคุมจราจร (บก.02) มาขึ้นที่จอมอนิเตอร์ใน บก.02 โดยเครื่องจะอ่านอัตโนมัติว่าเป็นรถของใคร ซึ่งทางกองบัญชาการตำรวจจราจร ได้เชื่อมต่อเครือข่ายกับกรมการขนส่งที่ศูนย์รัตนาธิเบศร์ เพื่อบอกสีรถ ยี่ห้อรถ ชื่อเจ้าของรถ เมื่อได้รายละเอียดจึงพิจารณาพิมพ์หมายหรือใบสั่งต่อไป

โดยผู้ทำผิดกฎจราจรจะถูกกล้องบันทึกภาพไว้ เมื่อหลักฐานครบถ้วนเจ้าหน้าที่จะแนบหมายเรียกส่งไปถึงบ้าน ซึ่งภาพที่ส่งไปจะมี 3 ภาพ คือ ภาพก่อนการกระทำความผิด ภาพขณะกระทำความผิด และภาพเฉพาะทะเบียนรถ โดยในภาพจะปรากฏชื่อสถานที่ วันเวลากระทำความผิด ความเร็วของรถ เห็นทั้งตัวรถและไฟสัญญาณ โดยจะส่งให้ภายใน 7 วัน หลังกระทำความผิด โดยเจ้าของจะต้องมาชำระค่าปรับตามที่กำหนดไว้ในหมาย

นอกจากเสียค่าปรับแล้วยังมีการตัดแต้มคะแนนอีกด้วย

ใครที่ทำผิดกฎจราจรแล้วถูกจดหมายใบสั่ง จะต้องมาชำระค่าปรับตามจุดเปรียบเทียบปรับที่จัดไว้ คือ จุดเปรียบเทียบปรับกรมการขนส่งทางบกจตุจักร จุดเปรียบเทียบปรับกรมการขนส่งทางบกบางนา จุดเปรียบเทียบปรับกรมการขนส่งทางบกตลิ่งชัน จุดเปรียบเทียบปรับกรมการขนส่งทางบกบางขุนเทียน สน.คู่ขนานลอยฟ้า สน.ใต้ทางด่วนพระราม 4 สน.ตู้กำแพงเพชร สน.วิภาวดี จุดเปรียบเทียบปรับ(บก.จร.เก่า) ภายใน 7 วัน

อัตราโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 1,000

สำหรับรถคันแรกที่ทำผิดประเดิมกล้องไฮเทค ถูกบันทึกภาพไว้ได้ตอนตี 4 วันที่ 30 ธันวาคม บริเวณแยกอโศกสุขุมวิท ถนนรัชดาภิเษก แขวงและเขตคลองเตย เป็นรถยนต์หมายเลขทะเบียน ทร-59 กทม. ซึ่งเป็นรถยนต์แท็กซี่ ของสหกรณ์แท็กซี่รวมมิตร เลขที่ 1296/67-68 ถ.กรุงเทพ-นนทบุรี แขวงและเขตบางซื่อ กทม.

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายร้อยรายที่ถูกกล้องจับบันทึกไว้ ใครเป็นใครต้องลุ้นกันตอนรับจดหมาย!!?

"โครงการระบบตรวจจับสัญญาณไฟจราจร เป็นหนึ่งในการช่วยลดปัญหาการให้ผู้ขับขี่มีวินัยไม่ฝ่าฝืนสัญญาณจราจร ทางกองบัญชาการตำรวจจราจร จึงได้ทดลองนำกล้องระบบตรวจจับผู้ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรมาใช้ แค่ช่วงทดลองก็พบว่าในแต่ละคืนมีคนทำผิดกฎจราจรกว่า 2 พันราย เพราะกลางคืนไม่มีตำรวจอยู่กลางสี่แยก ซึ่งกลายเป็นช่องว่างทำให้คนไม่เคารพกฎหมายทำผิดกฎจราจรและอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ เมื่อมีการติดตั้งกล้องอิเล็กทรอนิกส์ช่วยจับผู้กระทำผิด ก็จะเป็นประโยชน์กับเจ้าหน้าที่และลดการเกิดอุบัติเหตุได้

"นอกจากนี้ อุปกรณ์ดังกล่าวยังลดความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้รถใช้ถนนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะการทำผิดจะถูกบันทึกไว้เป็นภาพถ่ายที่เห็นชัดเจน โดยทางบก.จร.จะส่งหมายเรียกให้มาชำระค่าปรับ แต่ถ้าหากไม่มาก็จะทำเรื่องไปยังกองทะเบียนเพื่ออายัดการต่อทะเบียนทันที ซึ่งการติดตั้งกล้องเหล่านี้หากมีหลายๆ แยก ก็จะเป็นการดี อย่างน้อยก็จะทำให้ผู้ขับขี่เกรงกลัว แม้ไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ประจำแยก ซึ่งประโยชน์สูงสุดในการมีเครื่องตรวจจับชิ้นนี้ คือ ลดการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้รถใช้ถนนเอง และยังเป็นการลดกำลังพลเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะได้แบ่งไปตรวจตราความเรียบร้อยด้านอื่นแทน" พล.ต.ต.ภาณุ กล่าว

ถ้าผู้ใช้รถใช้ถนนมีวินัยไม่ทำผิดกฎจราจร ก็คงไม่ต้องสิ้นงบไปกับอุปกรณ์เหล่านี้!!

Monday, March 2, 2009

Rip Current

ปิดเทอม หากพาเด็กไปเที่ยวทะเล ระวัง : Rip Current


ตอนเช้ามาได้ดูข่าวทีวีก็รู้สึกสลดใจ เพราะมีคนตายอีกแล้วเพราะความไม่รู้จัก Rip Current โดยปกติแล้วทางเจ้าหน้าทีจะปักธงแดงให้เล่นน้ำในเขตอยู่แล้ว แต่อาจจะมีบางคนไม่เข้าใจ